Sunday, June 24, 2007

ความสำคัญของการส่งออก

ธุรกิจภาคการส่งออกของไทยในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวที่สูงและรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับสูง นับว่าเป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเองและประเทศชาติ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำ เงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยเราเป็นจำ นวนมากในปีหนึ่ง ๆ และรายได้เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำ มาใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจการส่งสินค้าออกของไทยประสบความสำ เร็จ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ จึงจำ เป็นที่จะต้องเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติต่าง ๆ ในการส่งออกสินค้าให้ดีเสียก่อนเนื่องจากขั้นตอนการส่งออกสินค้า เป็นสิ่งสำ คัญที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกจะต้องทำ ความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจส่งออกเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำ เร็จคุ้มค่ากับความตั้งใจในการลงทุน

ความสำคัญของภาคการส่งออกสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ผลักดันในด้านการขยายการลงทุนและสร้างความต้องการแรงงาน

การส่งออกที่ขยายตัวขึ้นย่อมทำ ให้ผู้ผลิตต้องขยายการผลิตหรือมีการลงทุนเพิ่มขึ้น และโดยส่วนใหญ่แล้วระบบการผลิตของไทยก็เป็นระบบการผลิตที่ใช้แรงงานในสัดส่วนที่มากกว่าเครื่องจักร (Labour Intensive) ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยในการสร้างความต้องการแรงงานให้แก่ประเทศที่สำ คัญปัจจัยหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผลต่อการช่วยยกระดับรายได้ของแรงงานด้วยอีกส่วนหนึ่ง

2. ช่วยในการนำ เข้าเงินตราต่างประเทศ

ช่วยในด้านการลดการขาดดุลการค้า และดุลการชำ ระเงิน เพราะในการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สกุลเงินต่างประเทศในการชำ ระค่าสินค้า และส่วนมากก็จะเป็นสกุลเงินหลักๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันในตลาดโลก เช่นดอลล่าร์สหรัฐฯ มารค์เยอรมัน หรือเยน เมื่อส่งสินค้าออกไปแล้วก็จะทำ ให้ได้เงินตราต่างประเทศเข้ามา และเมื่อจะต้องนำ เข้าสินค้าจากต่างประเทศก็จะทำ ให้มีเงินไปชำ ระค่าสินค้านั้นได้ และเงินตราต่างประเทศที่ได้ก็จะมีส่วนต่อปริมาณเงินสำ รองของประเทศอีกด้วย

3. ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการส่งสินค้าออกนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะระดับราคาของสินค้าที่ส่งออกส่วนมากอยู่ในระดับตํ่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น จึงทำ ให้สินค้านั้นเข้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักของการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) เมื่อประเทศใดสามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ตํ่ากว่าประเทศอื่นแล้วย่อมแสดงว่าทรัพยากรที่ถูกนำ มาผลิตนั้นถูกนำ มาใช้ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือถ้าสินค้าที่ผลิตได้มีระดับราคาที่สูงกว่าการนำ เข้าจากต่างประเทศแล้ว ก็ควรนำ เข้าสินค้านั้นมากกว่า แล้วนำ ทรัพยากรต่างๆที่ผลิตสินค้านั้นไปผลิตสินค้าอื่นที่สามารถผลิตได้โดยต้นทุนที่ตํ่ากว่าแทน

4. ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ทรัพยากร

เป็นการพิจารณาในการนำวัตถุดิบต่างๆมาแปรรูปก่อนส่งออก ซึ่งจะทำให้สินค้านั้นๆ มีมูลค่าสูงขึ้นเช่น แทนที่จะส่งออกในรูปของผ้าผืน แต่เปลี่ยนมาเป็นการส่งออกเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน ซึ่งมูลค่าของสินค้าย่อมสูงขึ้นอันจะทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

5. เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตลง (Economy of Scale)
ถ้าเดิมผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าเพื่อป้อนตลาดในประเทศเพียงอย่างเดียว ปริมาณการผลิตจึงไม่สูงมากนัก แต่ถ้ามีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศด้วย ปริมาณการผลิตก็จะเพิ่มขึ้น จากกำ ลังผลิตเดิมที่มีอยู่ก็จะเพิ่มกำ ลังผลิตเพิ่มขึ้นให้เต็มกำ ลังผลิต หรืออาจเป็นการขยายกำ ลังผลิตขึ้น เหล่านี้ย่อมเป็นการช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยให้ตํ่าลง หรือเป็นการผลิต ณ จุดที่มีระดับต้นทุนตํ่าสุด อันจะเป็นการช่วยให้ได้กำ ไรเพิ่มขึ้น

6. ช่วยสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

การขยายและกระจายการส่งออกจะช่วยปรับปรุงระดับเทคโนโลยีในการผลิต และการบริหาร เพราะในตลาดโลกย่อมมีภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ผู้ส่งออกต้องปรับปรุงสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตตลอดจนการจัดการ อันจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับของเทคโนโลยีของประเทศอีกทางหนึ่ง

7. ช่วยลดการพึ่งพิงสินค้าจากต่างประเทศ

เป็นการพิจารณาในการผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำ เข้า (Import substitution) เพราะเดิมเราต้องนำเข้าสินค้าต่างๆ ที่ยังไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้แต่มีต้นทุนที่สูงกว่าการนำ เข้า แต่เมื่อเราพยายามพัฒนาให้สามารถผลิตสินค้านั้นได้แล้วก็จะลดการนำ เข้าลง ขณะเดียวกันนอกจากจะผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศแล้ว ก็มุ่งไปหาตลาดในต่างประเทศ (Export Oriented) เพื่อให้ได้ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น อันจะเป็นการช่วยต้นทุนต่อหน่วยให้ตํ่าลง

Thursday, November 23, 2006

ข้อควรทำและระวัง


ข้อควรทำ
* เลือกขนาดของบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับปริมาณสินค้าที่ต้องการส่ง หากเลือกกล่องที่ใหญ่เกินไปอาจทำให้กล่องยุบ แต่ถ้าใส่เกินพิกัด กล่องอาจจะปริแตกออกได้
* เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูงในการห่อหุ้มชิปเม้นท์เสมอ โดยคำนึงถึงความแข็งแรง มีที่รอง และทนทาน
* เลือกกล่องที่ทำจากกระดาษลูกฟูกและใช้เลเยอร์บอร์ดที่มีความหนาเป็นสองเท่าสำหรับการขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าสูง
* ควรใช้วัสดุรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของที่อยู่บรรจุภัณฑ์เคลื่อนย้ายได้
* ควรมีการใช้สายรัดเพื่อเป็นการปิดผนึกและป้องกันกล่องของคุณ หรืออาจใช้เทปอย่างหนาหากไม่มีเครื่องรัด
* สำหรับการนำส่งสินค้าที่แตกหักง่าย ควรวางไว้อยู่กึ่งกลางกล่อง และใช้วัสดุนุ่มๆ กันกระแทกห่อหุ้มด้านข้าง เพื่อมั่นใจว่าจะไม่มีใครแตะต้องตัวสินค้าได้
* สำหรับการนำส่งสินค้าที่เป็นของเหลว ควรจัดเก็บไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิด ซึ่งอาจทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง เช่น Styrofoam และใส่ถุงพลาสติกหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง ควรจำไว้เสมอว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดีจะทำให้เกิดความ เสียหายกับชิปเม้นท์
* สำหรับการนำส่งสินค้าที่เป็นกึ่งของเหลว ที่ทาน้ำมันไว้ หรือมีกลิ่นฉุน ควรปิดผนึกด้วยเทปอย่างดี และหุ้มด้วยกระดาษกันชื้นที่ทาน้ำมันอย่างดี ควรจำไว้เสมอว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ดีจะทำให้เกิดความ เสียหายกับชิปเม้นท์
* สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทผงหรือเมล็ดพืชอย่างดี ควรบรรจุในถุงพลาสติกที่แข็งแรง และมีการปิดผนึกอย่างดี ก่อนที่จะใส่ลงไปในกล่องแข็งที่ทำจากไฟเบอร์บอร์ดอีกทีหนึ่ง
* ใช้เครื่องหมาย “ลูกศรชี้ขึ้น” สำหรับวัสดุที่ไม่แข็งแรง
* ห่อของขวัญส่วนตัวที่ต้องการส่งใหม่อีกครั้ง เพื่อให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เหมาะสมแก่การขนส่ง เนื่องจากผลิตภัณฑ์หลายอย่างในเวลาขายไม่ได้มีการหุ้มห่ออย่างดี
* ใช้กล่องที่เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม แทนที่จะเป็นกล่องรูปทรงกระบอกเมื่อต้องการใส่ชิ้นงานที่ม้วนกลม แผนที่ หรืองานพิมพ์เขียว
* จำไว้เสมอว่าบรรจุภัณฑ์แบบฟลายเออร์เหมาะสำหรับสินค้าที่มีขนาดเล็ก
* การนำส่งแผ่นดิกส์ข้อมูล แผ่นเสียง และวิดีโอเทป ควรมีการห่อหุ้มสินค้าแต่ละชิ้นด้วยวัสดุกันกระแทกก่อน
* กรอกข้อมูลที่อยู่ให้สมบูรณ์และชัดเจน โดยใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ เมื่อเขียนลงในแผ่นป้าย เพื่อช่วยให้พนักงานของดีเอชแอลสามารถอ่านเห็นได้ง่ายขึ้น
* เมื่อต้องการขนส่งของมีคมต่างๆ เช่น มีด กรรไกร ควรจะมีการห่อหุ้มเพื่อป้องกันความคมของสินค้านั้นอย่างดี และใช้กระดาษแข็งอย่างหนา เพื่อป้องกันไม่ให้ของมีคมเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้าย และป้องกันไม่ให้เกิดของอุบัติเหตุระหว่างการขนส่ง
* ใช้กระดาษแข็งทุกครั้งเมื่อมีการขนส่งชิปเม้นท์ที่บาง และแตกหักง่าย (เช่น สินค้าที่ทำจากเรซิน)
* เมื่อมีการนำกล่องกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ควรแกะป้ายและสติ๊กเกอร์ต่างๆ ออกจนหมด และตรวจสอบให้แน่ใจว่ากล่องอยู่ในสภาพดี สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ข้อควรระวัง
* ไม่ควรใช้ซองหรือถุงที่ทำจากวัสดุสิ่งทอหรือผ้า
* ไม่ควรปิดผนึกอย่างแน่นหนาจนเกินไป เนื่องจากทุกชิปเม้นท์สามารถถูกเปิดออกเพื่อการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร
* ไม่ควรใช้เทปใสหรือเชือกเพื่อปิดผนึกชิปเม้นท์ของคุณ
* ไม่ควรคิดว่าป้าย “แตกหักง่าย” และ “ขนส่งอย่างระมัดระวัง” เป็นการบ่งบอกถึงพัสดุภัณฑ์ที่ต้องระมัดระวัง เนื่องจากป้ายเหล่านี้ใช้เพื่อแจ้งกล่าวเท่านั้น

ประกาศ การนำเข้าพัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้​


กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) และกองตรวจตราปศุสัตว์และพันธุ์ไม้ (APHIS) ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎข้อบังคับเกี่ยวกับพัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ (ลังไม้) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่ตั้งแต่ 16 กันยายน ศกนี้ ทาง APHIS แจ้งว่า นับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน เป็นต้นไป การนำเข้าพัสดุภัณฑ์ไม้ ที่มิได้เป็นไปตามกฎข้อบังคับใหม่จะถูกส่งกลับประเทศทันที
ข้อบังคับใหม่นี้ระบุว่า พัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคและแมลงด้วยความร้อน หรือแบบรมควันด้วยเมธิล โบรไมด์ ภายใต้เงื่อนไข ISPM#15 และจะต้องมีการประทับตรารับรองการผ่านขั้นตอนระหว่างประเทศดังกล่าวบนลังไม้นั้นด้วย (ดูตัวอย่างในภาพด้านล่าง)
ข้อกำหนดดังกล่าวครอบคลุม การนำเข้าพัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้จากทุก ๆ ประเทศทั่วโลก (ยกเว้นแคนาดา และเม็กซิโกซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหรัฐอเมริกา) มายังสหรัฐอเมริกา ข้อกำหนดนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สิ่งของที่ทำจากไม้ แพลเล็ท ลัง กล่อง และฟางรองกันกระแทก
ข้อยกเว้น : พัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้แปรรูป อาทิ พาร์ทิคัลบอร์ด ไม้อัด หวาย ถังไวน์หรือวิสกี้ และแผ่นไม้ (ที่มีความหนาไม่เกิน 6 มม.)
กรณียกเว้นการประทับตราสำหรับพัสดุภัณฑ์ไม้ของกระทรวงกลาโหม : ตามข้อบังคับฉบับล่าสุด พัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ซึ่งใช้โดยกระทรวงกลาโหมเพื่อการบรรจุพัสดุที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุม รวมไปถึง การส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ตามสัญญาของกระทรวงกลาโหม สามารถนำเข้ามายังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมิต้องประทับตราดังกล่าวข้างต้น

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประทับตราสินค้า
1. พัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้จะต้องมีการประทับตรารับรองการผ่านขั้นตอนฆ่าเชื้อโรคระหว่างประเทศลงบนพัสดุภัณฑ์นั้นๆ ด้วย
ก) ตราประทับดังกล่าวจะต้องประกอบด้วย สัญลักษณ์ภาพที่เป็นเอกลักษณ์ รหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO ของประเทศผู้ผลิตพัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ และหมายเลขเฉพาะที่ออกให้โดยตัวแทนการปกป้องพันธุ์ไม้แห่งชาติของประเทศผู้ผลิตนั้น ๆ
ข) ตัวย่อแสดงการรับรองการผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อได้แก่
* HT สำหรับการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
* MB สำหรับการฆ่าเชื้อโดยการรมควันด้วยเมธิล โบรไมด์
2. พัสดุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ที่ผ่านขั้นตอนดังกล่าวแล้ว จะต้องมีการประทับตราที่ชัดเจนและคงทนบนลังไม้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน อย่างน้อย 2 ด้านตรงข้ามกัน

Monday, November 20, 2006

การบรรจุหีบห่อเพื่อส่งของ

ทำตามขั้นตอนง่ายๆเหล่านี้เพื่อให้การบรรจุหีบห่อเป็นไปด้วยความราบรื่น:
• ห่อของ
• บรรจุกล่อง
• ปิดผนึก
1. ห่อของ
แยกห่อของแต่ละชิ้นและใส่สิ่งกันกระแทกมากๆ เช่น บับเบิ้ลห่อของ เม็ดโฟม แผ่นโฟม
กระดาษที่นำมาขยำเป็นก้อนๆ เม็ดโฟมและแผ่นโฟมกันกระแทกอาจจะขยับได้ระหว่างการส่ง ังนั้นคุณควรจะใส่ลงไปให้มากจนกระทั่งคุณไม่ได้ยินเสียงสินค้ากระทบกัน
2. บรรจุกล่อง
ใช้กล่องส่งของกันกระแทกใบใหม่ เว้นให้มีที่เหลือสำหรับวัสดุกันกระแทกทุกด้าน อย่าใส่เกิน
น้ำหนักที่กำหนด (ส่วนมากจะพิมพ์บอกอยู่ใต้กล่อง) ถ้าคุณจะใช้กล่องใช้แล้วให้ลอกฉลากต่างๆ
ออก เสียก่อน อย่าลืมว่าน้ำหนักที่ใส่ได้สูงสุดอาจจะลดลงไปเนื่องจากเป็นกล่องใช้แล้ว
3. ปิดผนึก
ใช้เทปที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในการส่งของโดยเฉพาะ อย่าใช้เทปกั้นทาสี เทปใส เชือกหรือกระดาษห่อ ผู้มีประสบการณ์แนะนำให้ใช้เทปที่เป็นพลาสติกหรือเสริมด้วยไนลอนหรือเทปกาวที่ใช้น้ำทา (คุณภาพ 60 ปอนด์และกว้างอย่างน้อยสามนิ้ว)
ของบางอย่างต้องใช้การบรรจุหีบห่อเป็นพิเศษ เช่น:
# ของเก่าหรืองานศิลปะ: เอากระจกออกและคลุมปิดด้วยตัวป้องกันกระจก “glassmask” หรือ “glass-skin” และห่อต่างหาก (อย่าใช้ตัวป้องกันกระจกแบบนี้บนกระจกแบบที่ลดแสงสะท้อน เพราะจะทำให้พื้นผิวกระจกเสียหายได้) อย่าให้ตัวงานศิลปะโดนกระดาษหรือตัวกล่อง ถ้าคุณต้องการระบุราคา
# เหรียญ แสตมป์หรือจิวเวลลี่: ควรใช้กล่องใหญ่พอสมควรเพื่อที่จะให้ของส่งได้ง่ายและ ประกันสินค้าตามความเหมาะสม การส่งจิวเวลลี่และอัญมณีข้ามประเทศอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง
# ของสะสม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องแก้ว: สำหรับของที่แตกหักง่าย กล่องใส่ด้านนอกต้อง ใหญ่พอโดยที่ต้องมีที่เหลือในทุกด้านอย่างน้อย 3 นิ้ว ห่อของและแยกใส่กล่องแต่ละชิ้นเพื่อ
ป้องกันไม่ให้ของกระทบกัน วางของในบริเวณตรงกลางของกล่องและอยู่ห่างจากตัวกล่องทุก
ด้านพื่อป้องกันความเสียหาย ถ้าของมีช่องว่างตรงกลางเช่นแจกัน ให้คุณหากระดาษใส่ลงไป
เพื่อทำให้ของตัน
# อุปกรณ์ถ่ายภาพ อุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์: ควรจะใช้กล่องที่มาจากโรงงาน ถ้าชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิคส์โผล่มาด้านนอกให้เห็น ควรจะห่อด้วยวัสดุที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ห้ามใช้เม็ด
โฟมกันกระแทก กระดาษห่อของสีน้ำตาล แผ่นโฟม ผ้าห่อของหรือการดาษหนังสือพิมพ์ อย่า
ลืมประกันสินค้าตามความเหมาะสม
# ผ้าและวอลล์เปเปอร์: วิธีการส่งที่ดีที่สุดในการส่งสินค้าที่เป็นม้วนคือใช้กล่องกันกระแทก ถ้า
คุณส่งผ้าที่เป็นม้วนโดยใช้ถุง อย่าลืมห่อและปิดเทปให้แน่นหนาเพื่อป้องกันการขาด แปะฉลาก
ส่งของซ้ำที่ตัวแกนกลางของม้วนหรือระหว่างชั้นบนของวัสดุ
ตรวจสอบกับบริษัทถึงข้อจำกัดต่างๆในการส่งของ บางแห่งเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มถ้าของมี
ส่วนใดส่วนหนึ่งยื่นออกมาจากกล่องหรือถ้ากล่องใส่เป็นไม้หรือเหล็กหรือของที่ใหญ
่หรือมีรูปทรงเป็นพิเศษ
สนใจส่งสินค้าไปต่างประเทศติดต่อ
02-9512810 , 09-1060793 , 06-5452828

บริการของเรา


บริการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทุกชนิด
  • บริการติดต่อทำการค้าระหว่างประเทศเพื่อการนำเข้า-ส่งออกสินค้าทุกชนิด
  • ให้บริการ ติดต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนำเข้า-ส่งออกและ สิทธิประโยชน์ต่อเนื่องจากการนำเข้า-ส่งออกสินค้าต่างๆ
  • บริการจัดทำเอกสารสำหรับการเดินพิธีการศุลกากร เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสินค้า
  • จำหน่ายในประเทศหรือติดต่อส่งสินค้าออกต่างประเทศ

Wednesday, November 15, 2006

PPR Global Express

We are a newly established freight forwarding and logistics company founded by experienced, professional personnel that are fluent in Thai and English. Based in Bangkok,Thailand, our aim is to provide a cargo and buying agency service where people can be sure that their wishes have been fully understood, agreed to and then acted upon as they had intended.


  • Worldwide Shipping
  • Ocean Freight
  • Air Freight
  • Courier Services
  • Customs Documentation
  • Cargo Insurance
  • Packing
  • Storage/Warehousing
  • Inland Transportation/Trucking
  • Buyer/Purchasing Agency


Whether it’s to the other side of the World or simply within Thailand, can provide both exporters and importers with a choice of some of the best and most competitive shipping and freight forwarding services available.
Large or small, no matter what, we can manage the whole process for you including, packing, documentation, Customs clearance, insurance, trucking, sea/airfreight and the final Courier delivery of documentation to your own country. We use our experience and expertise to ship smarter - providing our customers with the highest quality service
Everything that we do is geared to offer benefits to our customers. We intend to build our reputation by offering a reliable, efficient, cost effective and flexible service to meet the requirements of shippers and customers both large and small. We aim to operate as an extension of your operation, not just as a supplier, taking a proactive, flexible approach and developing highly competative tailor made solutions to you logistical and buying problems.
If you have any questions regarding our service or would like us to quote you for doing work in connection with an actual consignment, please enter brief details below and we'll get back to you as soon as possible at Email: ppr.express@gmail.com